วันอาทิตย์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557


ลวดลายกระติบข้าวบ้านโคกสำราญ

ประวัติความเป็นมาของกระติบข้าวเหนียว
เนื่องจากภาคอีสานนิยมรับประทานข้าวเหนียวเป็นข้าวหลักเพราะรับประทานง่ายไม่ต้องใช้ภาชนะสำหรับรับประทานมากมาย ใช้เพียงมือในการบริโภค แต่เดิมภาชนะที่ใช้บรรจุข้าวเหนียวชาวบ้านนำต้นไม้ต้นเล็กๆ มาเจาะลำต้นให้กลวงแล้วตัดเป็นท่อนขนาดสั้นๆเป็นกระบอก มีฝาปิด หรือบางครั้งก็ใช้ไม้ไผ่มาตัดเป็นกระบอกสั้นๆนำมาเป็นภาชนะบรรจุข้าวเหนียว

กระติบข้าว เป็นภาชนะในการเก็บอาหารที่ทรงคุณค่า มากด้วยภูมิปัญญา เก็บความร้อนได้ดี ในขณะที่ยอมให้ไอน้ำระเหยออกไปได้ ทำให้ข้าวเหนียวที่บรรจุอยู่ภายในกระติบ หรือก่องข้าวไม่แฉะด้วยไอน้ำ ต่างจากกระติกน้ำแข็ง (ที่ดูเหมือนจะถูกนำมาใช้แทน ก่องข้าว หรือ กระติบข้าว ของพ่อค้าแม่ค้าขายข้าวเหนียวส้มตำในเมืองใหญ่) ที่จำเป็นต้องใช้ผ้าขาวบางรองอีกที ก่อนบรรจุข้าวเหนียว ถึงกระนั้น เม็ดข้าวที่อยู่ชิดรอบขอบกระติกก็ยังคงแฉะอยู่ดี ภูมิปัญญานี้มีเคล็ดลับอยู่ที่ การสานภาชนะเป็นสองชั้น ชั้นในสุดจะสานด้วยตอกให้มีความห่าง (ช่องว่างระหว่างตอกสาน) เล็กน้อย เพื่อให้ไอน้ำระเหยออกจากข้าวไปสู่ช่องว่างภายในก่อง หรือกระติบข้าวได้ ในขณะที่ชั้นนอกสุดจะสานด้วยตอกที่มีความชิดแน่นหนากว่า เพื่อเก็บกักความร้อนไว้ ไอน้ำที่มีความร้อนอยู่ภายในช่องว่างนี้ จะช่วยทำให้ข้าวเหนียวที่อยู่ภายในกระติบ หรือก่องข้าว ยังคงความร้อนได้อีกนาน โดยเมล็ดข้าวจะไม่มีไอน้ำเกาะ จึงไม่แฉะเหมือนกับการบรรจุในภาชนะพลาสติกยุคใหม่
           กระติบข้าวเป็นภาชนะสมัยก่อนเกือบทุกครอบครัว จะทำกระติบใช้เอง โดยหัวหน้าครอบครัว เพราะการทำกระติบถือเป็นงานหัตถกรรม การสานกระติบกับเป็นหน้าที่ของชายหญิงด้วยเป็นงานที่เบากว่า กระติบเป็นภาชนะทรงกระบอกสานด้วยตอกไม้ไผ่ ใช้สำหรับใส่ข้าวเหนียว ที่นึ่งสุกแล้ว ชาวบ้าน เลือกใช้ไม้ไผ่มาจักสาน มีการออกแบบกระติบ มี 2 ชั้น ช่วยรักษาความร้อน ของข้าวนึ่ง โดยสามารถ เก็บรักษาข้าวนึ่งให้อุ่นคงความนุ่มอยู่ได้หลายชั่วโมง โดยไม่ชื้นแฉะหรือแห้ง กระติบหรือกระติ๊บ มีรูปทรงกระบอกและรูปทรงสี่เหลี่ยมคล้ายกระป๋อง มีฝาปิดมีเชือก ร้อยสำหรับหิ้วและถือโดยทั่วไปภาชนะสำหรับใส่ข้าวเหนียวนึ่ง มีสองลักษณะ คือ ก่องข้าวกับกระติบข้าว ก่องข้าวเป็นเครื่องจักรสาน มีลักษณะ กลมป่องผายออกมาถึงปากและมีฝาปิดเป็นรูปทรงฝาชี มีฐานและ มีหูหิ้วสำหรับร้อยเชือก ส่วนกระติบข้าวเป็นเครื่องจักสานมีลักษณะ รูปทรงกระบอกและสี่เหลี่ยมมีผาปิดครอบเช่นเดียวกัน วัสดุที่ใช้ทำกระติบข้าวคือวัสดุที่ได้จากธรรมชาติตามท้องถิ่น เช่น กก หวาย ใบลาน กระจูด เตย ย่านลิเพา ใบมะพร้าวและใม้ไผ่ ที่นิยมมากที่สุดคือไม้ไผ่ เพราะหาได้ง่ายและมีคุณสมบัติพิเศษคือ แข็งแรงเหนียวมีการยืดตัวหดตัวสามารถตัดโค้งดีดเด้งตัวคือได้
        
                                 ขั้้นตอนการสานลวดลายกระติบข้าว

การสานลายสองยืน
           1. การเตรียมไม้ไผ่สำหรับการสานกระติบข้าวนั้น ควรมีอายุไม่เกินหนึ่งปี โดยเลือกไผ่ที่โตเพียงฝนเดียวมาทำก่องข้าวหรือสานกระติบ สำหรับไผ่ที่ใช้ทำกระติบได้ดีที่สุดจะมีอายุประมาณ 4-5 เดือน การเลือกไม้ไผ่ จะเลือกไม้ที่มีข้อปล้องยาวและตรง มีผิวเรียบเป็นมันนำมาตัดข้อปล้องทางหัวและท้ายออก โดยใช้เลื่อยตัดรอบไม้ไผ่เพื่อป้องกันผิวไผ่ฉีก ขนาดของปล้องไม้ไผ่หนึ่ง ควรมีความยาวประมาณ 30-40 เซนติเมตร   จากนั้นจึงใช้มีดโต้ผ่าออกเป็นชิ้นๆ แล้วใช้มีดตอกจักเป็นตอกขูดเปลือกสีเขียว ของมันออกและตากแดดเพื่อเก็บรักษาเอาไว้ก่อนจะทำงานสาน


                 2. เมื่อเหลาไม้ไผ่จนมีขนาดเหลือความหนาประมาณ 0.05 เชนติเมตร ก็จะขูดเสี้ยนไม้ออก เพื่อให้ตอกมีความเรียบและอ่อนบางที่สุด กระติบที่ได้ก็จะสวย และเวลาสานถ้าหากว่าเป็นตอกอ่อนก็จะทำให้สานง่ายไม่เจ็บมืออีกด้วย



                3. เมื่อได้ตอกมาประมาณ 100-150 เส้นแล้ว ก็จะเริ่มสานกระติบข้าวได้  การลงมือสานมักจะเริ่มต้นสานใช้ตอก 6 เส้น


               แล้วสานด้วยลายสองยืน โดยทิ้งชายตอกให้เหลือประมาณ 5 เซนติเมตร เมื่อสานได้ยาวจนชายตอกอีกด้านเหลือประมาณ 3เซนติเมตร

                   ทำการสานไปเรื่อยๆจนกว่าจะได้ความยาวเท่าทีเตรียมแบบไว้


                4.เมื่อได้ความยาวเท่่าแบบก็จะเป็นการประกบกันให้เป็นทรงกลมด้วยการประกบลายสอง



                 5.สานไปตามลักษณะของลายสองให้เสร็จให้จนหมอความยามของตอก





การสานลายตาบักกอก(ตราเหลียวห่อ)

               1.นำตอกมาหกเส้นทำแล้วนำมาขัดกัน ดังภาพ




2.นำตอกมาสอดเข้าตรงกลางสอดให้ครบ ดังรูป









3.เมื่อครบแล้วก็จะเป็นขั้นตอนการขัดกันของตอก




6.นำตอกมาสานเหมือนเดิมให้มีขนาดกว้างตามความกว้างของกระติบข้าว





                       การที่คนเราจะทำก่องข้าวได้จะต้องมีความอดทนพยายามมากกว่าจะไปหาไม้ไผ่แล้วก็มาจักตอกให้เป็นเส้นเท่ากันและลายที่ตาสานก็ไม่มากมายโดยมีสองลาย นั้นคือ ลายสองยืนซึ่งเป็นลายง่ายส่วนมากบ้านโคกสำราญจะใช้ลายสองยืนเพราะเป็นลายที่สานง่ายซึ่งลายสองยืนจะใช้สำหรับตัวก่องข้าวโดยก่องข้าวจะมีทั้งหมดสี่ชั้นโดยตัวก่องสองชั้นตัวฝาอีกสองชั้นเพื่อเก็บความร้อนไว้ได้นาน และลายที่ยากที่สุดในการทำก่องข้าวก็คือลาย ตาเหลียวห่อ หรือ ตาบักกอก แล้วแต่บางคนจะเรียกในการสานตาเหลียวห่อต้องใช้ความชำนาญและความดทนมากเพราะเป็นลายที่สลับซับซ้อนมาก้าเกิดทำผิดก็จะทำต่อไปไม่ได้โดยตาเหลียวห่อเป็นส่วนด้านบนและส่วนก้นเพื่อให้มีลวดลายที่ต่างกัน







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น